การจดทะเบียนสมรสทางกฎหมาย
ก่อนอื่นคุณควรทราบก่อนว่า การแต่งงานอย่างเอิกเกริกใหญ่โต และเป็นที่รู้กันทั่วทั้งสังคมว่า คุณทั้งคู่นั้นได้แต่งงานและใช้ชีวิตคู่ร่วมกันแล้วนั้น ยังไม่เป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามระเบียบที่ได้บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายไทยเสียก่อน ซึ่งคุณจะต้องปฏิบัติตามดังนี้
1.คุณสมบัติของผู้ที่จดทะเบียนสมรส ผู้ที่จะจดทะเบียนสมรสต้องมีคุณสมบัติครบตามนี้ คือ
- มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ต้องนำบิดามารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมหรือศาลอาจอนุญาตให้สมรสได้ตามเหตันเห็นสมควร
- ไม่เป็นคนวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
- ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตของกันโดยตรง ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดามารดา
- ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น
- ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกับบุตรบุญธรรมไม่ได้
- หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ เมื่อการสมรสครั้งก่อนได้สิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้นถ้าสมรสกับคู่สมรสเดิม มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
2.วิธีการ และขั้นตอนในการขอจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ
- ในกรณีแรก การจดทะเบียนสมรสในไทย ชาย หญิง ที่ต้องการจดทะเบียนสมรส สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ หรือนายทะเบียน ณ ที่ว่าการ อำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำนักทะเบียนเขตใดก็ได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนาของคู่สมรส หรือจะให้นายทะเบียนไปรับจดทะเบียนให้ถึงเรือนหอ หรือในงานมงคลสมรสเลยก็ได้ ซึ่งถือเป็นงานบริการสาธารณอย่างหนึ่งโดยนายทะเบียนจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามระเบียบ
- กรณีที่สอง การจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศ การจดทะเบียนในต่างประเทศ ไม่ว่าเป็นการ จดทะเบียนระหว่างผู้ทีมีสัญชาติไทยทั้งสองฝ่าย หรือผู้ที่มีสัญชาติไทยฝ่ายหนึ่งกับผู้ที่มีสัญชาติอื่นอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้ที่มีความประสงค์จะสดทะเบียนสามารถเลือกที่จะจดทะเบียนตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยก็ได้ โดยพนักงานทูต หรือกงสุลไทยจะเป็นนายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ หรือจะจดทะเบียนตามแบบที่กำหนดไว้ ตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทำการสมรสนั้นก็ได้
ถ้าหากเป็นการจดทะเบียนสมรสตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทย นายทะเบียนจะอ่านเงื่อนไข การสมรสให้คู่สมรสทราบก่อน เมื่ออ่านจบจะถามคู่สมรสว่าได้ทำผิดเงื่อนไขการสมรสข้อใดหรือไม่ ถ้าไม่ นายอำเภอจะรับจดทะเบียนสมรสข้อใดหรือไม่ ถ้าไม่ นายอำเภอจะรับจดทะเบียนสมรสให้ และอวยพรให้ตามประเพณี ซึ่งถ้าการตอบคำถามนี้เป็นเท็จประการใด ผู้ที่แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
3.เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรส
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
- สำเนาหนังสือเดินทางกรณีชาวต่างประเทศ
- หนังสือรับรองสถานภาพบุคคลจากสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การของรัฐบาลประเทศนั้นมอบหมาย พร้อมแปล (กรณีชาวต่างประเทศขอจดทะเบียนสมรส)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
4.ค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนที่จด ไม่ต้องเสียค้าธรรมเนียม การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท พร้อมจัดยานพาหนะ รับ-ส่ง นายทะเบียน
สิทธิ และหน้าที่ที่สามีภรรยาพึงมีต่อกันหลังการจดทะเบียน
เมื่อจดทะเบียนสมรสแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีสิทธิ และหน้าที่ต่อกันตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แบ่ง เป็นความสัมพันธ์กันใน 2 ทางกว้างๆ คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา และด้านทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
Likes