Style Sampler

Layout Style

Patterns for Boxed Mode

Backgrounds for Boxed Mode

1000/25-26 ชั้น 10 อาคารลิเบอร์ตี้พลาซ่า ซอยสุขุมวิท 55 คลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพ 10110

0853666690

พิธีแต่งงานแบบชาวมุสลิม

พิธีแต่งงานแบบชาวมุสลิม

ประเพณีการแต่งงานในศาสนาอิสลามโดยหลักๆ แล้วไม่ได้มีรูปแบบแตกต่างจากศาสนาอื่นมากนัก คือเริ่มต้นที่การสู่ขอ กำหนดสินสอดทองหมั้น มีพิธีแต่ง และมีงานมงคลสมรส หากแต่ศาสนาอิสลามจะมีรายละเอียดข้อกำหนดที่ค่อนข้างเคร่งครัดกว่าศาสนาอื่น หญิงที่ชายจะสามารถขอแต่งงานได้นั้นจะต้องไม่ได้อยู่ในช่วงสามเดือนแรกของการหย่าร้าง หรือสามีเสียชีวิต (อิดดะฮ) และหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามจะต้องเข้าเป็นอิสลามก่อน ซึ่งก็จะต้องมาเรียนรู้วิถีตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม และเข้าพิธีเพื่อเปลี่ยนศาสนา ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทั้งคู่มีความเข้าใจในความแตกต่างของกันและกันเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตคู่นั่นเอง

images

            เมื่อมีการตกลงแต่งงานและกำหนดสินสอด (มะฮัร) แล้วก็จะร่วมกันหาวันแต่งงาน ซึ่งก็จะเป็นวันที่ทั้งสองฝ่ายสะดวกตรงกัน เพราะชาวมุสลิมไม่เชื่อเรื่องโชคลาง หรือฤกษ์ยามใดๆ พาถึงกำหนดวันแต่งงานมาถึงเจ้าบ่าว   จะยกของหมั้นไปที่บ้านเจ้าสาว เพื่อทำพิธีอะกัดขนิกาฮต่อหน้าสักขีพยาน ซึ่งจะต้องเป็นชายหรือหญิงที่มีการปฏิบัติตนเคร่งครัดในศาสนา ช่วงขณะทำพิธีหากญาติพี่น้องฝ่ายหญิงที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามจะเข้าร่วมในพิธีไม่ได้ จึงต้องแต่งตั้งผู้อื่นให้ทำหน้าที่ผู้ปกครองแทน โดยผู้แทนอาจจะเป็นครูที่สอนศาสนาให้แก่เจ้าสาว หรือเป็นผู้รู้ที่เคารพนับถือก็ได้เช่นกัน

            ในการทำพิธี ผู้รู้หลักศาสนาอิสลาม จะทำหน้าที่เป็นพิธีกรในการนำพิธี โดยเริ่มจากเชิญวะลีย์ หรือ            ผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาวขึ้นกล่าวคำเสนอให้เจ้าบ่าวยอมรับการแต่งงานครั้งนี้ ซึ่งผู้ทำหน้าที่เป็นวะลีย์จะต้องเป็นญาติสนิทของเจ้าสาว โดยมากจะเป็นพ่อ แต่ถ้าไม่ใช่พ่อ ก็อาจเป็นใครก็ได้โดยให้เรียงตามลำดับความใกล้ชิดกับเจ้าสาว เช่น ปู่ พี่ชาย น้องชาย หลานชาย ฯลฯ

            คำกล่าวเสนอของวะลีย์ตรงนี้จะคล้ายกับพิธีกรรมทางศาสนาคริสต์ คือวะลีย์จะถามเจ้าบ่าวว่าจะรับเจ้าสาวเป็นภรรยาตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ และเมื่อเจ้าบ่าวตอบรับเป็นอันจบพิธีไม่ต้องมีการสวมแหวนแต่อย่างใด จากนั้นผู้นำพิธีจะอ่านคัมภีร์อัลกุรอานบทที่ว่าด้วยการครองเรือนให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวฟัง พิธีก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นเป็นการเลี้ยงฉลองการแต่งงานเรียกว่า “วลีมะฮ” การเลี้ยงฉลองงานแต่งไม่จำเป็นต้องทำในวันเดียวกัน     กับวันทำพิธีนิกาฮก็ได้ แต่ต้องไม่เกินจากวันทำพิธี 2 วัน โดยงานแต่งจะจัดอย่างเรียบง่าย ไม่ฟุ่มเฟือยตามความเชื่อของศาสนาอิสลาม

banner-promo

Share this with friends